Home : Green Story : Food

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ธัญโอสถ อีกทางเลือกของชาวนาไทย

จุดเริ่มต้นในปี 2557 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้นำในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวกล้องเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า “ธัญโอสถ” เช่น ข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง คือ สีนิล(เจ้าหอมนิล),ข้าวไรซ์เบอร์รี่, ข้าวที่มีธาตุเหล็กสูงดัชนีน้ำตาลปานกลางเช่น ข้าวสินเหล็ก และได้ร่วมงานกับสถาบันโภชนาการชั้นนำอย่างมหาวิทยาลัยมหิดลในการศึกษา เชิงโภชนาการบำบัดของผลิตภัณฑ์ข้าวโภชนาการสูงเหล่านี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ประกอบกับรสสัมผัสที่ยอดเยี่ยมและสีที่โดนเด่นจึงทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ธัญโอสถ อีกทางเลือกของชาวนาไทย
จุดเริ่มต้นในปี 2557 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้นำในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวกล้องเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า “ธัญโอสถ” เช่น ข้าวที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง คือ สีนิล(เจ้าหอมนิล),ข้าวไรซ์เบอร์รี่, ข้าวที่มีธาตุเหล็กสูงดัชนีน้ำตาลปานกลางเช่น ข้าวสินเหล็ก และได้ร่วมงานกับสถาบันโภชนาการชั้นนำอย่างมหาวิทยาลัยมหิดลในการศึกษา เชิงโภชนาการบำบัดของผลิตภัณฑ์ข้าวโภชนาการสูงเหล่านี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ประกอบกับรสสัมผัสที่ยอดเยี่ยมและสีที่โดนเด่นจึงทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว (สนับสนุนโดยคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ)

 ในช่วงเวลาเดียวกันทีมนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ยังได้สร้างพันธุ์ข้าวหอมนาชลประทานที่รวมยีนกว่า 10 ตำแหน่ง มารวมไว้ในข้าวหอมปิ่นเกษตร+4 ที่มีผลผลิตสูงกว่า 1 ตันต่อไร่ และมีดัชนีน้ำตาล ต่ำกว่าข้าวบัสมาติที่มีชื่อเสียงของอินเดีย ข้าวหอมปิ่นเกษตร+4จะเป็นความหวังของชาวนาในเขตชลประทานที่ต้องการพันธุ์ข้าวที่มีเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค 


 
 
 
 
  
 
 
 
  กุญแจดอกที่หนึ่ง 
การปลูกข้าวให้เป็นธัญโอสถ นับว่าเป็นกุญแจสู่การตลาดข้าว Premium ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงสุดจากจากมือเกษตรกร เกษตรอินทรีย์เป็นระบบการปลูกข้าวที่ให้คุณภาพสูง เพราะมีความละเอียดอ่อนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้เกษตรได้มากที่สุด ผลผลิตข้าวอินทรีย์จึงมีคุณภาพที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารรอง, สารต้านอนุมูลอิสระ และ  metabolites ที่เสริมความแข็งแรงตามธรรมชาติของมัน แต่อย่างไรก็ตาม การปลูกข้าวอินทรีย์จำเป็นต้องเริ่มจากชาวนาที่มี “อุดมคติ” จึงจะสำเร็จได้ ในปัจจุบันชาวนาที่มีอุดมการณ์เหล่านี้ได้ถูกระบบการจำนำราคาข้าว ทำลายไปเป็นจำนวนมากอย่างน่าเสียดาย 


 
    กุญแจดอกที่สอง 
คือ การจัดตั้งโรงสีข้าวธัญโอสถในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการแปรรูปขนาดกลางที่เหมาะสมกับปริมาณการผลิตข้าว ธัญโอสถจากระบบเกษตรอินทรีย์(economy of  scale) ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ข้าวบรรจุถุงสำเร็จที่มีคุณภาพสูงสู่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องจนสามารถ สร้างผลกระทบทางพฤติกรรมของผู้บริโภคและการเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่อง
 

 
     กุญแจดอกที่สาม
คือ  การพัฒนาการตลาดจำเพาะโดยเริ่มจากการวางตำแหน่งของสินค้าในตลาดยอย่างเหมาะสม ด้วยจุดขายที่สำคัญ คือ สีสันที่โดดเด่นมีงานวิจัยด้านคุณค่าทางโภชนาการบำบัด รวมกับรส สัมผัสของข้าวกล้องที่นุ่มนวล กลิ่นหอมเฉพาะตัวจึงทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีตำแหน่งสูงสุดของตลาดข้าวถุงของไทยในปัจจุบัน
 
 

    กุญแจดอกที่สี่
คือ การดำรงให้ระบบการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ประณีต ยั่งยืนต่อไป จำเป็นต้องพัฒนากลไกทางเศรษฐกิจสังคมที่ยุติธรรมมาขับเคลื่อน สินค้าสู่ตลาด premium พร้อมทอนกำไรจากการตลาดสู่มือ  ของเกษตรกรและชุมชนของเขา ดังนั้นเราจึงประยุกต์เอา Social business ร่วมกับ Fair trade และ Contract farming มาขับเคลื่อนองค์กรอันประกอบด้วย “หน่วยงานราชการ”(ธนาคารเพื่อการเกษตรและ  สหกรณ์(ธ.ก.ส.)  สหกรณ์การตลาด(ส.ก.ต.)และศูนย์พัฒนาที่ดิน) “เกษตรกร” (วิสาหกิจชุมชน เกษตรอินทรีย์ต่างๆ) และ “สถาบันการศึกษาและมูลนิธิ” (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ มูลนิธิเพื่อน  พึ่ง(ภาฯ)ยามยาก) ได้ร่วมกันพัฒนา “โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่อินทรีย์แบบครบวงจรจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภค”ซึ่งมีรูปแบบคล้าย Social enterprise ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกแบบอินทรีย์ที่อยู่ใน  โครงการประมาณ 3,000-5,000 ไร่ และพื้นที่นอกโครงการจำนวนมาก พื้นที่ปลูกกว่า 70% อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าทุกภาค 
 
 
 
  ผลผลิตนาข้าวในเขตชลประทานที่ประสบปัญหาจากการแข่งขันในตลาดโลกสูงที่สุด เพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เป็นแกนนำในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีผลผลิตสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีเอกลักษณ์ในเชิงโภชนาการบำบัด นั่นคือ ข้าวขาวดัชนีน้ำตาลต่ำ(สนับสนุนโดย สำนักงานวิจัยการเกษตร)ซึ่งถูกออกแบบให้ผู้บริโภคที่มีปัญหาในการป้องกันเบาหวาน ประเภทที่ 2 หันมาบริโภคข้าวขาวหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวปิ่นเกษตร+4 เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว,ข้าวนึ่ง, อาหารอบกรอบต่างๆ ดัชนีน้ำตาลในข้าวปิ่นเกษตร+4 จากการทดลองในมนุษย์ พบว่ามีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวบัสมาติอย่างชัดเจน ด้วยขนาดและรูปร่างของเมล็ดที่ยาวเรียว,กลิ่นหอม, ผลผลิตสูงและต้านทานโรค/แมลงดีเด่น ทำให้ข้าวปิ่นเกษตร+4เป็นที่สนใจ ในการสร้างโมเดลธุรกิจเชิงสังคมขึ้นมาอีกอัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของข้าวของไทยในการตลาดโลกต่อไป
 
 
บทความ โดย รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร 
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว 

ข้าวไรซ์เบอร์รี่เกิดการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ข้าวเจ้าหอมนิล  กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ได้รับความร่วมมือระหว่าง คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน  ลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม รูปร่างเมล็ดเรียวยาว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวลมาก สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ให้ผลผลิตต่อปานกลาง ต้านทานต่อโรคไหม้ ไม่ต้านทานโรคหลาว จึงควรเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกรอบการปลูก  คุณสมบัติเด่นทางด้านโภชนาการของข้าวไรซ์เบอรี่ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ เบต้าแคโรทีน,แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, แทนนิน, สังกะสี, โฟเลตสูง, มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง นอกจากนี้รำข้าวและน้ำมันรำข้าว ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีเหมาะสำหรับใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารเชิงบำบัดอีกด้วย


 
ลักษณะประจำพันธุ์ 
ข้าวไรซ์เบอรี่ Riceberry
 
  ความสูง                                                 105-110 ซม.
  อายุเก็บเกี่ยว                                           130 วัน
  ผลผลิต                                                  300-500 กก. / ไร่
  % ข้าวกล้อง (Brown rice)                         76 %          
  % ต้นข้าวหรือข้าวเต็มเมล็ด (head rice)          50 %
  ความยาวของเมล็ด     
  ข้าวเปลือก 11 ม.ม.   ข้าวกล้อง 7.5 ม.ม.  ข้าวขัด 7.0 ม.ม.
 
 
 
 
 
คุณสมบัติทางโภชนาการ
ในข้าวกล้องไรซ์เบอรี่  Riceberry
 
  ปริมาณ Amylose                         15.6   %    
  อุณหภูมิแป้งสุก                           < 70  ° C
  ธาตุเหล็ก                                   13-18 mg/kg              
  ธาตุสังกะสี                                  31.9   mg/kg
  โอเมกา-3                                   25.51 mg/100g           
  วิตามิน อี                                    678    ug /100g
  โฟเลต                                       48.1   ug/100g            
  เบต้าแคโรทีน                              63      ug/100g
  โพลีฟีนอล                                  113.5 mg/100g           
  แทนนิน                                      89.33 mg/100g
  แกมมา-โอไรซานอล                      462    ug/g
 
  สารต้านอนุมูลอิสระ
  ชนิดละลายในน้ำ                           47.5mg ascorbic acid quivalent/100g 
  ชนิดละลายในน้ำมัน                       33.4 mg trolox equivalent/100 g
 
 
  ข้อจำกัด :- ข้าวที่ต้องการเอาใจใส่เป็นพิเศษ, ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์, ต้องสภาพอากาศเย็น เพื่อสร้างสีเมล็ด
  * พันธุ์ข้าวนี้ได้จดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่แล้ว 



 

ข้อมูลบริการ

GreenShopCafe.com ร้านสินค้าสุขภาพออนไลน์ ภายใต้แนวคิด "สินค้าสุขภาพ ออร์แกนิค ธรรมชาติ ปลอดเคมีอันตราย นวัตกรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"

จากแบรนด์ดีๆ มากมายหลายหลาก เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่ใส่ใจและเลือกสรรแต่สิ่งดีมีคุณภาพสำหรับตัวเองและครอบครัว

จ่ายผ่านบัตรบนระบบของ KTC ปลอดภัย 100%

GreenShopCafe ใช้ระบบตัดบัตรเครดิต KTC PayGate ของ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยระดับสากล การระบุข้อมูลบัตรที่จะกระทำบนระบบเซอร์เวอร์ของ KTC PayGate จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยสูงสุด และ GreenShopCafe ไม่เก็บเลขบัตรและข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้าทั้งสิ้น

Credit Card Accept & Payment Gateway support by KTC PCL
© กรีนช็อปคาเฟ่ GreenShopCafe.com สงวนลิขสิทธิ์