Home : Green Story : Health

ไตรกลีเซอไรด์กับการดูแลสุขภาพ

ไตรกลีเซอไรด์ คือ อนุภาคไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ มีขนาดเบาบางและเล็กมาก โดยปกติร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่สองสามชั่วโมงหลังจากการกินอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ส่วนใหญ่ก็ถูกขจัดออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว คนทั่วไปมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดประมาณ 50-150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าตรวจเลือดหลังอดอาหารมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง พบว่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าร่างกายมีปัญหาในการขจัดไตรกลีเซอไรด์

ไตรกลีเซอไรด์กับการดูแลสุขภาพ



รู้จักไตรกลีเซอไรด์
ไตรกลีเซอไรด์ คือ อนุภาคไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ มีขนาดเบาบางและเล็กมาก จึงไม่น่าแปลกที่ใครบางคนบอกว่า อยู่เฉยๆ ร่างกายก็ผลิตไตรกลีเซอไรด์ แต่ไขมันชนิดนี้ยังเพิ่มพูนในร่างกายของเราได้จากอาหารที่เรากินเข้าไปด้วย อาหารประเภทไขมันโดยส่วนใหญ่จะมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือไขมันที่ซ่อนอยู่ในเนื้อ นม หรืออาหารอื่นๆ ที่เรานึกไม่ถึงว่าจะมีไขมันซ่อนอยู่ด้วย เมื่อเรากินอาหารประเภทนี้เข้าไป ร่างกายจะดูดซึมแล้วก็ขนส่งไตรกลีเซอไรด์ผ่านเลือดส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ที่ต้องการพลังงาน ไตรกลีเซอไรด์ที่มากเกินไปจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน (body fat) แล้วพอกพูนตามส่วนต่างๆ ของร่างกายจนร่างกายอ้วนขึ้น โดยปกติร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่สองสามชั่วโมงหลังจากการกินอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ส่วนใหญ่ก็ถูกขจัดออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว คนทั่วไปจึงมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูง คือประมาณ ๕๐-๑๕๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าตรวจเลือดหลังอดอาหารมาแล้ว ๘-๑๒ ชั่วโมง พบว่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า ๒๐๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าร่างกายมีปัญหาในการขจัดไตรกลีเซอไรด์



ไตรกลีเซอไรด์กับสุขภาพ
การสะสมของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดที่มากผิดปกติ จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ เช่นเดียวกับการมีโคเลสเตอรอลในเลือดสูง ทั้งนี้เพราะไตรกลีเซอไรด์ปริมาณสูงทำให้เลือดข้นเหนียวขึ้น เกิดการจับตัวกันเป็นลิ่มและอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะที่หัวใจและสมอง  นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า คนที่มีไตรกลีเซอไรด์สูงเป็นเวลานานจะทำให้ระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอล (HDL) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลที่ดีในเลือดลดต่ำลงด้วย ดังนั้นไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงร่วมกับเอชดีแอลต่ำจึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากๆ อาจจะทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้ ในผู้หญิงระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงขึ้นด้วย เพราะไตรกลีเซอไรด์ที่สูงจะไปกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไหลเวียนอยู่สูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นมะเร็งเต้านม




ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้อย่างไร
ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงผิดปกติ เกิดจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วน ได้รับพลังงานหรือแคลอรีมากเกินไป กินอาหารที่มีไขมันหรือขนมหวานในปริมาณมาก ทำให้ร่างกายสร้างไตรกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็จะไปกระตุ้นตับให้ผลิตไตรกลีเซอไรด์ มากขึ้นเช่นกัน และยังทำให้การเคลื่อนย้ายไขมันออกจากเลือดได้ช้ากว่าปกติด้วย ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง  ยังพบได้บ่อยในคนอ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งอ้วนแบบพุงกะทิ คนที่เป็นโรคไต โรคเบาหวานชนิดที่สองหรือชนิดไม่พึ่งอินซูลิน คนที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย และคนที่เป็นโรคตับ ทั้งนี้เพราะกลไกการย่อยสลายไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเปลี่ยนแปลงไป


บาง คนที่มีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงที่เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น ร่างกายขาดเอนไซม์ที่ย่อยไตรกลีเซอไรด์ จึงขจัดไตรกลีเซอไรด์ได้ช้าผิดปกติ คนกลุ่มนี้มักมีค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงมากอาจสูงได้ถึง ๘๐๐-๑,๐๐๐ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การกินยาบางชนิดอาจทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นได้ เช่น ยาขับปัสสาวะไธอาไซต์ ฮอร์โมนเพศหญิง ยาคุมกำเนิดบางชนิด ในคนกลุ่มนี้การหยุดกินยาดังกล่าวจะทำให้ไตรกลีเซอไรด์ลดลงเป็นปกติได้


การควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์

ดัง ที่กล่าวมาแล้วสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง คือการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วน กินอาหารพวกแป้งและน้ำตาลมากเกินไป จนเป็นพลังงานส่วนเกินกว่าที่ร่างกายต้องการทำให้เกิดภาวะอ้วน มีการสร้างและย่อยสลายไตรกลีเซอไรด์ผิดปกติ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง จึงควรงดหรือลดการกินของหวาน หรืออาหารที่มีน้ำตาลมาก เช่น เครื่องดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลปริมาณมาก ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ขนมทองหยิบทองหยอด ฝอยทอง คุกกี้ ไอศกรีม เป็นต้น  สำหรับอาหารพวกข้าว ก๋วยเตี๋ยว ซึ่งเป็นอาหารหลัก คนที่กินมากกว่า ๔ ทัพพี ต่อมื้อ ถ้าไม่ใช่คนที่ออกกำลังกายหนักมากควรลดปริมาณลงให้เหลือไม่เกิน ๒-๓ ทัพพีต่อมื้อ ร่างกายจะสร้างไตรกลีเซอไรด์มากขึ้นถ้าได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป ดังนั้นการรู้จักกิน และแบ่งมื้ออาหารเพื่อให้มีการกระจายพลังงานให้เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด กล่าวคือควรกินอาหารให้ครบทั้ง ๓ มื้อ ไม่ควรงดอาหารมื้อใด  มื้อหนึ่ง โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้า และควรกินอาหารมื้อเช้าให้อิ่ม เพราะพลังงานที่ได้จากอาหารจะถูกนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดวัน ในปัจจุบันคนทั่วไปมีความเร่งรีบจึงมักงดเว้นหรือกินอาหารเช้าเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามควรคำนึงไว้เสมอว่า กินอาหารมื้อเช้าให้ได้พลังงานประมาณ ๑ ใน ๔  ของพลังงานที่ควรได้ใน ๑ วัน ซึ่งเท่ากับปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในอาหารมื้อเย็นที่เหลือประมาณครึ่ง หนึ่งควรได้จากมื้อกลางวัน และอาหารว่างเล็กๆ ในตอนสายและบ่าย การแบ่งพลังงานทั้งวันเช่นนี้สอดคล้องกับการที่ร่างกายต้องใช้พลังงานในการ ดำเนินชีวิตทำให้ไม่มีพลังงานเหลือที่จะนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งจะนำปัญหาสุขภาพมาสู่เรา



การลดอาหารไขมันลงก็ช่วยทำให้ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารทอดหรือผัดที่ใช้น้ำมันมากในการประกอบอาหาร รวมทั้งไขมันสัตว์ต่างๆ ยกเว้นไขมันจากปลาทะเลที่มี กรดไขมันโอเมกา ๓ (omega-3) การศึกษาวิจัยพบว่า กรดไขมันโอเมกา ๓ ช่วยลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ในตับได้ ดังนั้นใครที่มีปัญหาไตรกลีเซอไรด์สูง หากได้กินปลาทะเลที่มีไขมันโอเมกา ๓ สูง ปรุงด้วยวิธีการนึ่ง ๒-๓ มื้อต่อสัปดาห์ จะช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ค่อนข้างดี แต่ทั้งนี้ต้องลดการกินไขมันโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันที่ได้จากสัตว์บกลงด้วย มิฉะนั้นกินอาหารที่มีไขมันโอเมกา ๓ ไปก็ไม่ทันกับไขมันที่รับเพิ่มขึ้นในร่างกาย
คนที่มีไตรกลีเซอไรด์ใน เลือดสูง ถ้ามีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนควรพยายามลดน้ำหนักตัวลงบ้าง การลดน้ำหนักไม่ได้หมายความว่าจะต้องลดน้ำหนักจนกระทั่งผอมแห้งอย่างกับดารา นางแบบ เพียงแต่พยายามลดน้ำหนักตัวลงให้ได้ร้อยละ ๕-๑๐ จาก น้ำหนักเดิม เช่น คุณน้ำหนัก ๙๐ กิโลกรัมก็ควรลดน้ำหนักสัก ๔-๙ กิโลกรัม ไม่ต้องหักโหมลดน้ำหนักให้เหลือเพียง ๗๐ กิโลกรัมในทันที การลดน้ำหนักที่ดีที่สุดคือการควบคุมปริมาณอาหารที่กินอย่าให้มากเกินไป ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับคนที่ไตรกลีเซอไรด์ใน เลือดสูงจากโรคบางอย่าง ควรควบคุมหรือรักษาโรคนั้นๆ ควบคู่กันไป เช่น ไตรกลีเซอไรด์สูงจากภาวะเบาหวานประเภทที่สอง การลดไตรกลีเซอไรด์ทำได้โดยการพยายามคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ ควบคู่กันไปนั่นเอง หรือในกรณีที่ไตรกลีเซอไรด์สูงจากภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ การลดไตรกลีเซอไรด์ทำได้โดยการรักษาด้วยฮอร์โมนไทรอยด์ด้วย สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ การงดสูบบุหรี่และลดการดื่มเบียร์ เหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่างๆ ทำให้ตับสร้างไตรกลีเซอไรด์น้อยลง และการขจัดไขมันในเลือดได้ดีขึ้น จึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการป้องกันไม่ให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
 

นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 315
นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ

Latest stories

ข้อมูลบริการ

GreenShopCafe.com ร้านสินค้าสุขภาพออนไลน์ ภายใต้แนวคิด "สินค้าสุขภาพ ออร์แกนิค ธรรมชาติ ปลอดเคมีอันตราย นวัตกรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"

จากแบรนด์ดีๆ มากมายหลายหลาก เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่ใส่ใจและเลือกสรรแต่สิ่งดีมีคุณภาพสำหรับตัวเองและครอบครัว

จ่ายผ่านบัตรบนระบบของ KTC ปลอดภัย 100%

GreenShopCafe ใช้ระบบตัดบัตรเครดิต KTC PayGate ของ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยระดับสากล การระบุข้อมูลบัตรที่จะกระทำบนระบบเซอร์เวอร์ของ KTC PayGate จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยสูงสุด และ GreenShopCafe ไม่เก็บเลขบัตรและข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้าทั้งสิ้น

Credit Card Accept & Payment Gateway support by KTC PCL
© กรีนช็อปคาเฟ่ GreenShopCafe.com สงวนลิขสิทธิ์