Home : Green Story : Health

ลดเค็ม คุมโซเดียม เลี่ยงโรคไต ได้สุขภาพดี

ผู้ที่บริโภคโซเดียมมากมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีสภาวะน้ำหนักเกิน เนื่องจากเมื่อบริโภคโซเดียม จะทำให้เกิดความอยากอาหารเพิ่มขึ้น

ลดเค็ม คุมโซเดียม เลี่ยงโรคไต ได้สุขภาพดี
รสเค็มส่งเสริมให้อาหารอร่อยแต่รู้หรือไม่ว่า โซเดียม เป็นสารประกอบหนึ่งของเกลือ 
 
โดยทั่วไปร่างกายของคนเรา มีความต้องการโซเดียมไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน หรือ 2,000 มิลลิกรัม หากร่างกายได้รับ โซเดียม ในปริมาณมากเกินไป จะส่งผลให้ไตทำงานหนัก และล้มเหลวในที่สุด
 
สำหรับการลดปริมาณโซเดียม อาจจะต้องเริ่มปรับตั้งแต่ นิสัยการกิน และสร้างวินัยการกินให้กับตัวเองจึงจะเป็นการแก้ที่ตรงจุด หากเราเพียงแค่ลดอาหารรสเค็ม ก็อาจจะได้รับโซเดียมผ่านอาหารรสชาดอื่นๆเช่นกัน เช่น อาหารรสเปรี้ยวเช่นผักดอง หรือ ซอสปรุงรสต่างๆ
 
ในขณะเเดียวกัน ผงชูรส จัดเป็น สารประกอบที่มี โซเดียม รูปแบบหนึ่ง ไม่มีกลิ่น หรือรสชาติ ผงชูรส มีส่วนสำคัญที่ทำให้บริโภคโซเดียมในปริมาณมาก จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ อัตราการบริโภคโซเดียม และอัตราการป่วย โรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
 
ทั้งนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ผู้ที่บริโภคโซเดียมมากมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีสภาวะน้ำหนักเกิน เนื่องจากเมื่อบริโภคโซเดียม จะทำให้เกิดความอยากอาหารเพิ่มขึ้น


 
 
 
โซเดียม คืออะไร   
 
        โซเดียม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่หลักในการรักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่าง ในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ร่างกายมีการขับโซเดียมได้ 3 ทาง ได้แก่ ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ ตามลำดับ ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ตับแข็ง ประสิทธิภาพในการขับโซเดียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโซเดียมในเลือด
 
ระดับโซเดียมปกติในเลือด  ระดับปกติ 135-145 mEq/L
 
ระดับโซเดียมต่ำในเลือด     ระดับปกติ < 135 mEq/L   เพลีย ไม่มีแรง 
 
ระดับโซเดียมสูงในเลือด     ระดับปกติ > 145 mEq/L   กระหายน้ำ เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย
 
 
 
อาหารและโซเดียมสำคัญอย่างไร
 
    การควบคุมโซเดียมในอาหารจะลดการคั่งของโซเดียมในเลือด ช่วยรักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ ควบคุมและป้องกันความดันโลหิตสูง รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
 
    คนปกติมักรับประทานเกลือ 3,000-7,000 มิลลิกรัมต่อวัน อาหารจำกัดโซเดียมเป็นอาหารที่มีโซเดียมน้อยกว่าที่คนปกติบริโภคหรือปริมาณโซเดียม ≤ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบกับเกลือ 1 ช้อนชา


 นพ.ณัฐพล  เลาหเจริญยศ 
 โซเดียมอยู่ในอาหารประเภทใดบ้าง?
 
 
อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงมักมีรสเค็ม ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารทุกชนิดที่มีรสเค็ม แต่อาหารที่มีโซเดียมสูงบางชนิดอาจไม่มีรสเค็ม ซึ่งเรียกว่า มีโซเดียมแฝง ทําให้ร่างกายรับโซเดียมโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น จึงควรทําความรู้จักอาหารประเภทนี้ไว้ด้วย จากการสํารวจพบว่าปริมาณโซเดียมที่ได้รับส่วนใหญ่มาจาก ขั้นตอนการปรุงอาหารมากกว่าการเติมน้ําปลาหรือเกลือหลังปรุงเสร็จแล้ว โดยเราสามารถแบ่งอาหารที่มี โซเดียมเป็นส่วนประกอบได้ ดังนี้
 
1. อาหารแปรรูปและอาหารหมักดอง ได้แก่ อาหารกระป๋อง อาหารเค็ม อาหารตากแห้ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดอง และผลไม้ดอง เป็นต้น
 
2. เครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ ได้แก่ เกลือ (ทั้งเกลือเม็ดและเกลือป่น) น้ําปลา ซึ่งมีปริมาณโซเดียม สูง สําหรับคนที่ต้องจํากัดโซเดียมควรงดซอสปรุงรสต่างๆ เช่น ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว น้ําบูดู กะปิ ปลาร้า ปลาเจ่า เต้าหู้ยี้ ซอสหอยนางรม ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ําจิ้มต่างๆ ที่มีรสเปรี้ยวๆ หวานๆ เพราะซอสเหล่านี้แม้จะมีปริมาณโซเดียมไม่มากเท่าน้ําปลา แต่คนที่จํากัดโซเดียมก็ไม่ ควรบริโภคให้มากเกินไป
 
3. ผงชูรส แม้เป็นสารปรุงรสที่ไม่มีรสเค็มแต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ ประมาณ 15%
 
4. ขนมกรุบกรอบต่างๆ เพราะอาหารเหล่านี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูด มีโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก
 
5. อาหารกึ่งสําเร็จรูป เช่น บะหมี่ โจ๊ก ข้าวต้ม ซุปต่างๆ ทั้งชนิดก้อนและชนิดซอง
 
6. ขนมต่างๆ ที่มีการเติมผงฟู ( Banking Powder หรือ Banking Soda) เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง เพราะผงฟูที่ใช้ในการทําขนมเหล่านี้มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (โซเดียมไบ คาร์บอเนต) รวมถึงแป้งสําเร็จรูปที่ใช้ทําขนมก็มีโซเดียมด้วยเพราะได้ผสมผงฟูไว้แล้ว
 
7. น้ําและเครื่องดื่ม น้ําฝนเป็นน้ําที่ปราศจากโซเดียม ส่วนน้ําบาดาลและน้ําประปามีโซเดียม ปะปนแต่ในจํานวนไม่มากนัก ส่วนเครื่องดื่มเกลือแร่มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วย เพื่อให้เป็นเครื่องดื่มสําหรับนักกีฬาหรือผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก ไม่ใช่ประชาชนทั่วไป ส่วนน้ําผลไม้บรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ก็มักมีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไป ทําให้น้ําผลไม้ เหล่านี้มีโซเดียมสูง ดังนั้น หากต้องการดื่มน้ําผลไม้ควรดื่มน้ําผลไม้สดจะดีกว่า.
 
ขอบคุณข้อมูลจาก
พญ.อติพร อิงค์สาธิต

เทคนิคคุมโซเดียม เลี่ยงโรคไต

ลดเค็ม คุมโซเดียม เลี่ยงโรคไต ได้สุขภาพดี GreenShopCafe.com
  
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารรสจัด
  • ชิมอาหารทุกครั้งก่อนเติมเครื่องปรุง
  • เลือกบริโภคอาหารสดหรืออาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด
  • หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป และขนบขบเคี้ยวที่มีเครื่องปรุงรสปริมาณมาก
  • ลดความถี่ของการบริโภคอาหารที่ต้องมีเครื่องปรุงทั้งน้ำจิ้ม และลดปริมาณน้ำจิ้มที่บริโภค
  • ทดลองปรุงอาหารโดยใช้ปริมาณเกลือ น้ำปลา เพียงครึ่งเดียวจากสูตรอาหาร หากไม่อร่อยจริงๆ ค่อยเพิ่มปริมาณ
  • บริโภคอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว และผลไม้ จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
  • ปลูกฝังนิสัยให้บุตรหลานรับประทานอาหารรสจืด

โซเดียมแฝง คืออะไร

ลดเค็ม คุมโซเดียม เลี่ยงโรคไต ได้สุขภาพดี GreenShopCafe.com


โซเดียมแฝง คืออะไร หลายๆ คงยังไม่ทราบ แต่ที่สำคัญสามารถส่งผลอันตรายต่อสุขภาพได้ วันนี้เรามีำคำตอบของโซเดียมแฝงมาให้รู้จักกัน
 
โซเดียมแฝงก็คือโซเดียมที่อยู่ในส่วนประกอบของสารต่างๆ ที่ไม่ใช่เกลือ เช่น ผงฟู = โซเดียมไบคาร์บอเนต ที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ต่างๆ  สารกันบูด = โซเดียมเบนโซเอต
 
โซเดียมแฝงเหล่านี้ ก็คือโซเดียมที่ส่งอันตรายต่อสุขภาพเช่นเดียวกันนั่นเอง ดังนั้นการรับประทานขนมปัง เค้ก พาย เบเกอรี่ต่างๆ ก็ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเช่นกัน
 
อย่าลืมว่าเราควรบริโภคโซเดียมเพียงวันละ 2,000-2,400 มิลลิกรัมเท่านั้น ใครรู้ตัวว่าทานเกินเป็นประจำ ควรลดลงได้แล้ว เผื่อผลดีในระยะยาว

กรมอนามัยแนะคนไทยลดหวานมันเค็มหนีโรคเรื้อรัง

 จากผลการสำรวจสุขภาพคนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 ในกลุ่มตัวอย่าง 20,290 คน เปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ 3 พ.ศ.2546-2547 พบว่า ผู้หญิงมีความชุกของภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นจาก 34.4% เป็น 40.7% ส่วนในผู้ชายเพิ่มขึ้นจาก 22.5% เป็น 28.4% ในรอบปี 2552 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 558,156 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่า ในรอบ 10 ปี มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น 3.8 เท่า เสียชีวิตวันละ 36 คน ปี 2552 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน 7,019 คน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม บริโภคอาหารที่ไม่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย เช่น บริโภคอาหารมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะเครียด และเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ เป็นต้น
 
"อีกหนึ่งสาเหตุของปัญหาคือวิถีชีวิตการบริโภคอาหารประจำวันในเรื่องการปรุงอาหารรสหวาน มัน เค็มมากจนเกินไป ซึ่งทุกปัญหาไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อเนื่องถึงภาวะเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอีกด้วยโดยในปี 2551 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคดังกล่าว 302,307 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น แนวทางการแก้ไขที่ถูกต้องและยั่งยืนคือการให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่เป็นเมนูชูสุขภาพควรมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และขณะเดียวกันกลุ่มวัยผู้ใหญ่ก็ยังต้องให้ความรู้ในด้านโภชนาการอย่างต่อเนื่อง" นพ.สมยศ กล่าว
 
ด้าน พ.อ.สมชาย ภัทรศุกล หัวหน้ากองส่งเสริมสุขภาพและเวชกรรมป้องกันโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม กล่าวว่า โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเกิดจาก ที่ผ่านมา คนหนุ่มสาวในพื้นที่เริ่มเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งเดิมโรคเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับคนสูงอายุ จากการสำรวจพบว่าพฤติกรรมการกินของคนในพื้นที่ที่เปลี่ยนไป มีดัชนีมวลกายที่เกินมาตรฐาน จึงได้นำกลุ่มเสี่ยงเข้าโครงการ โดยในปี 54 มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 150 คน น้ำหนักตัวลดลงตามเกณฑ์ 31.33%  หลักในการดำเนินกิจกรรม คือ  3 อ. ได้แก่ 1. อ อาหารผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องรู้ว่าอาหารแต่ละชนิดให้พลังงานเท่าใด มีประโยชน์มากร้อยแค่ไหน  2.อ. ออกกำลังกาย  ด้วยการเต้นลีลาศ หรือแอร์โรบิค และ อ.ที่ 3 คืออารมณ์ ซึ่งอารมณ์ที่ดีจะเป็นการเสริมสร้างอำนาจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
 
นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังได้ให้ความรู้แก่ร้านค้าในการรังสรรค์เมนูอาหารที่มีประโยชน์ให้กับผู้ป่วยและผู้มาใช้บริการในโรงพยาบาล  นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ อสม.ในการช่วยคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมกับโรงพยาบาลเพื่อเป็นการป้องกันก่อนการเกิดโรค ทั้งนี้ การส่งเสริมให้ประชาชนเลือกกินอาหารที่เป็นเมนูชูสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม ควบคู่กับออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามแนวทางการดำเนินงานของกรมอนามัย นอกจากจะช่วยให้ได้กินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม อันส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทางโภชนาการที่สำคัญ ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ซึ่งล้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขให้น้อยลงด้วย

โซเดียมกับอาหารแปรรูป

ลดเค็ม คุมโซเดียม เลี่ยงโรคไต ได้สุขภาพดี GreenShopCafe.com
 การบริโภคโซเดียมมากเกินไป มีผลเสียต่อสุขภาพ การบริโภคโซเดียมสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และอัมพาต
 
อาหารทุกอย่างมีโซเดียมตามธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งหากผ่านการเติมเกลือเพื่อแปรรูป หรือถนอมอาหารก็จะทำให้ปริมาณโซเดียมในอาหารนั้นเพิ่มสูงขึ้น โซเดียมถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทั้งเป็นสารปรุงแต่งรส ยืดอายุการเก็บรักษา ทำให้อาหารเก็บไว้ได้นานขึ้น เช่น ผงฟู ผงกันบูด ผงชูรส
 
ตัวอย่างปริมาณโซเดียม ก่อน – หลัง แปรรูป
 
ไข่ต้ม ก่อนแปรรูป จะมีโซเดียมเฉลี่ย 80 มิลลิกรัม แต่หลังแปรรูปเป็นไข่เค็ม จะมีโซเดียมเฉลี่ย 380 มิลลิกรัม
 
ปริมาณโซเดียมในอาหารแปรรูป
 
แหนม 100 กรัม   โซเดียม 990 มิลลิกรัม
เนื้อแดดเดียว 100 กรัม   โซเดียม 1,514 มิลลิกรัม
ปลาสลิดทอด 100 กรัม   โซเดียม 1,694 มิลลิกรัม
หมูแผ่น 100 กรัม   โซเดียม 1,592 มิลลิกรัม
กุนเชียง 100 กรัม   โซเดียม 1,303 มิลลิกรัม
ไส้กรอก 100 กรัม   โซเดียม 680 มิลลิกรัม
ผักกาดดอง 100 กรัม   โซเดียม 1,498 มิลลิกรัม
มะม่วงแช่อิ่ม 100 กรัม   โซเดียม 504 มิลลิกรัม

Source เรื่องและภาพ สสส

Latest stories

ข้อมูลบริการ

GreenShopCafe.com ร้านสินค้าสุขภาพออนไลน์ ภายใต้แนวคิด "สินค้าสุขภาพ ออร์แกนิค ธรรมชาติ ปลอดเคมีอันตราย นวัตกรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"

จากแบรนด์ดีๆ มากมายหลายหลาก เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่ใส่ใจและเลือกสรรแต่สิ่งดีมีคุณภาพสำหรับตัวเองและครอบครัว

จ่ายผ่านบัตรบนระบบของ KTC ปลอดภัย 100%

GreenShopCafe ใช้ระบบตัดบัตรเครดิต KTC PayGate ของ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยระดับสากล การระบุข้อมูลบัตรที่จะกระทำบนระบบเซอร์เวอร์ของ KTC PayGate จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยสูงสุด และ GreenShopCafe ไม่เก็บเลขบัตรและข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้าทั้งสิ้น

Credit Card Accept & Payment Gateway support by KTC PCL
© กรีนช็อปคาเฟ่ GreenShopCafe.com สงวนลิขสิทธิ์