Home : Green Story : Food

เผ็ด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กินไม่พอดีมีโทษ

รสชาติของอาหารทุกรสไม่ว่าจะเป็นรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ขม หรือรสเผ็ด ต่างก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพราะทำหน้าที่สำคัญคือกระตุ้นให้ร่างกายของเราเกิดความอยากกินอาหาร

เผ็ด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กินไม่พอดีมีโทษ
เผ็ด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กินไม่พอดีมีโทษ
 
ประโยชน์และโทษของอาหารรสชาติต่างๆ
รสชาติของอาหารเป็นสิ่งสำคัญในการกินอาหาร เพราะจะทำให้ทราบได้ว่าอาหารชนิดใดมีรสชาติอย่างไร แต่ทราบหรือไม่ว่า ประโยชน์และโทษของอาหารรสชาติต่างๆ มีดีร้ายแตกต่างกันออกไป ซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกายของเราด้วย
 
 
 จุดเริ่มต้นจากลิ้น
คุณสุวิตต์ สารีพันธ์ นักโภชนาการจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รสชาติของอาหารทุกรสไม่ว่าจะเป็นรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ขม หรือรสเผ็ด ต่างก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพเพราะทำหน้าที่สำคัญคือกระตุ้นให้ร่างกายของเราเกิดความอยากกินอาหาร
 
ทั้งนี้กระบวนการรับรสของร่างกายเริ่มต้นที่ลิ้นโดยบริเวณผิวหนังด้านบนของลิ้นจะมีปุ่มรับรสหรือ Taste bud กระจายอยู่ทั่วไป ภายในของปุ่มรับรสจะประกอบไปด้วยเซลล์รับรสจำนวนมาก เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป อาหารเหล่านั้นที่ถูกฟันเคี้ยวจนละเอียด ได้น้ำบางส่วน ซึ่งจะผสมกับน้ำลาย ไปสัมผัสกับปุ่มรับรสตามตำแหน่งต่างๆ บนลิ้นแยกแยะรสชาติ
 
โดยทั่วไปเซลล์ในปุ่มรับรสจะมีอายุเพียง 7 วันเท่านั้นก็หมดอายุขัย ปุ่มรับรสบนลิ้นจะมีประสิทธิภาพมากในวัยผู้ใหญ่ และจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้สูงอายุจึงมักประสบปัญหาเรื่องกินอาหารไม่อร่อยเพราะไม่ค่อยรู้รส
 
ตามปกติลิ้นของคนเราจะสามารถรับรสได้เพียงสี่ชนิดเท่านั้น คือ รสหวาน เค็ม เปรี้ยว และขม ซึ่งในแต่ละบริเวณบนลิ้นจะมีความไวต่อการรับรสต่างชนิดกัน เช่น
 
ปลายลิ้น มีความไวต่อการรับรสหวาน โคนลิ้น มีความไวต่อการรับ รสขม ด้านข้างลิ้น มีความไวต่อการรับ รสเปรี้ยว ส่วนรสเค็ม นั้นตำแหน่งการรับรสใกล้เคียงกับรสหวาน นั่นคืออยู่ใกล้บริเวณ ปลายลิ้น
 
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรสชาติ
ตามตำราแพทย์แผนจีน รสชาติของอาหารทุกชนิดมีความสำคัญต่ออวัยวะภายในร่างกายมนุษย์แทบทั้งสิ้น แม้ว่ารสชาติของอาหารจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่การบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นรสหวาน เค็ม เผ็ด หรือรสเปรี้ยว แทนที่จะได้ประโยชน์ อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
ประโยชน์และโทษของอาหารรสชาติต่างๆ มีอะไรบ้าง
 
คลิกแต่ละรสนะคะ
 
------
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Good Life Update
 

อาหารรสหวาน

เผ็ด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กินไม่พอดีมีโทษ GreenShopCafe.com
เมื่อพูดถึงที่มาของความหวาน น้ำตาลมักเป็นอันดับต้นๆ ที่เรานึกถึง ทั้งนี้น้ำตาลมักเป็นอันดับต้นๆ ที่เรานึกถึง ทั้งนี้น้ำตาลจัดอยู่ในอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานต่อร่างกายในทันทีที่กินเข้าไป ส่งผลให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าอย่างรวดเร็ว
 
ร่างกายของเราควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยฮอร์โมนชื่อ อินซูลิน (Insulin) ซึ่งมีหน้าที่ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดและมีฮอร์โมนชื่อกลูคากอน (glucagon) คอยทำหน้าที่เพิ่มระดับกลูโคส ซึ่งร่างกายไม่สามารถควบคุมประมาณน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ อาจทำให้เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน และมีอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้
 
นอกจากนั้นรสหวานช่วยส่งเสริมการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม รสหวานมีสรรพคุณทางยาช่วย รักษาอาการปวดเกร็งตามกล้ามเนื้อ แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายรู้สึกชุ่มชื่น และแก้กระหาย โดยมากรสหวานที่เรารับประทานจะได้จากน้ำตาล น้ำผึ้ง ผักและผลไม้สุกบางชนิด เช่น กล้วย ลิ้นจี่ อ้อย มะละกอ ฯลฯ
 
อันตรายที่มากับรสหวาน
 
หวานมากไปทำให้อ้วน
อาหารหวานทำให้ความอยากอาหารลดลง การกินอาหารรสหวานมากเกินไปจะทำให้เรารู้สึกอิ่ม อีกทั้งยังทำให้รู้สึกขี้เกียจ ง่วงนอน มีเสมหะในลำคออีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรกินอาหารรสหวานก่อนกินอาหารมื้อหลัก เพราะจะทำให้กินอาหารได้น้อยลง
 
เบาหวาน เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปมากๆ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดจาดความสมดุล จึงทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมามากกว่าปกติเพื่อกำจัดปริมาณน้ำตาลในเลือด ยิ่งคนเป็นเบาหวานกินหวานมากเท่าไร จะยิ่งให้ตับอ่อนทำงานหนักและเป็นอันตรายมากเท่านั้น อีกทั้งความหวานยังทำให้เกิดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคไต และฟันผุอีกด้วย

ข้อมูลจาก Good Life Update 
 

รสขม

เผ็ด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กินไม่พอดีมีโทษ GreenShopCafe.com
 
รสขม (bitter) เป็นรสพื้นฐาน (basic taste) บริเวณโคนลิ้นจะตอบสนองต่อรสขมได้ดี สารประกอบที่ให้รสขม ได้แก่ tannin, caffeine, catechin, naringin, nicotine, quinine, brucine รสขมเป็นรสที่ต้องการในอาหารบางชนิด เช่น เบียร์ ชา กาแฟ โกโก้ แต่เป็นรสที่ไม่ต้องการในอาหารบางชนิด ซึ่งแสดงถึงการไหม้จากการหุงต้ม เช่น แกงไต ปลาแห้ง
 
ขม อาหารที่มีรสชาติขม เช่น มะระ บอระเพ็ด สะเดา ใบยอ ขี้เหล็ก ชะอม มะเขือ ใบบัวบก งา ดาร์กช็อกโกแลต
 
ประโยชน์ พืชผักรสชาติขมช่วยขับลม ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด บำรุงหัวใจ ป้องกันไข้หวัด มีสารพฤกษเคมีหลายตัว สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเค ใยอาหาร
 
ข้อควรระวัง ยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันถึงผลเสียทางสุขภาพของการกินรสชาติขม แต่หากกินมากอาจทำให้ได้ใยอาหารสูงเกินไปจนถ่ายท้องได้
 
หลายครั้งที่โรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง หรือแม้แต่อาการทางสุขภาพที่เป็นกันได้บ่อย เช่น ไข้หวัด อาการภูมิแพ้ ท้องเสีย ท้องผูก เป็นต้น มีสาเหตุมาจากความชอบในรสชาติอาหารหวาน มัน
 
"ประโยชน์และโทษจากการกินขม"
 
ในอดีตโบราณที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินสุภาษิต ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา ซึ่งตามความเชื่อสมัยก่อนนั้นเชื่อว่าอาหารรสขม เป็นอาหารที่เป็นยา ช่วยบำรุงร่างกาย ถ้าเคยดูหนังจีนเราจะพบมากมายว่าคนป่วยต้องกินยาหม้อซึ่งเคี่ยวจนขม และถ้าเราสังเกตุดูเราจะพบว่าความขม จะอยู่ในผักหลากหลายชนิด ซึ่งผักเหล่านั้นมักมีสรรพคุณเป็นยาอีกด้วย (นี่อาจเป็นที่มาของสุภาษิต หวานเป็นลม ขมเป็นยาก็ได้)
 
ประโยชน์จากการกินขม
 
ในดีของสัตว์ ชนิดต่างๆ มีรสขม ซึ่งจะช่วยในการบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ และบำรุงน้ำดี
สะเดา เป็นยาระบาย แก้นิ่ว ขับปัสาวะ ช่วยให้นอนหลับดี มักนิยมจิ้มกับน้ำพริก หรือทำน้ำจิ้มหวานๆ ให้ตัดกับรสสะเดา ทำให้เจริญอาหารดีอีกด้วย
มะระ เป็นยาเจริญอาหาร , ยาระบาย , แก้โรคม้าม ,โรคตับ , ขับพยาธิ ในแพทย์จีนเชื่อว่า มะระช่วยขับพิษ , ฟอกเลือด , บำรุงตับ , บำรุงสายตา และผิวหนัง
กาแฟ มีสาร คาเฟอีน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวและลดความง่วงได้
ขี้เหล็ก ช่วยให้หลับดี , เป็นยาระบาย , ช่วยบำรุงร่างกาย , แก้ไข้ , แก้นิ่ว , ขับปัสสาวะ และใน ขี้เหล็กจะมี วิตามิน เอ และ วิตามิน ซี ค่อนข้างสูง อีกด้วย
ใบยอ มีวิตามินสูง ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยลดอาการภูมิ เป็นยาระบาย แก้วิงเวียนศรีษะ
 
การกินขมมากๆนั้น ยังไม่พบข้อมูลว่ามีผลกระทบอะไรกับร่างกายมากนัก อาจเป็นเพราะว่า รสขม เป็นรสที่ไม่โปรดปรานของคนทั่วไปนัก ทำให้ไม่ค่อยมีคนที่กินขมมากๆ ก็ได้

ข้อมูลจาก 
Thaihealth 

Food network
 

อาหารรสเค็ม

เผ็ด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กินไม่พอดีมีโทษ GreenShopCafe.com
 
โซเดียมเป็นส่วนประกอบสำคัยของเกลือ ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมความสมดุลของของแหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ใรระดับปกติ ช่วยควบคุมระดับความเป็นกรด-ด่างของเลือด แม้ว่าร่างกายจะผลิตเกลือเพียงน้อยนิด แต่เราไม่เคยขาดเกลือ เพราะร่างกายมีระบบที่สามารถเก็บเกลือไว้อย่างมีประสิทธภาพ และยังปรับตัวต่อปริมาณเกลือที่ลดลงได้ อีกทั้งเกลือยังมีอยู่ในผัก ผลไม้ เครื่องปรุงต่างๆ อาหารหมักดอง เนื้อสัตว์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยวอีกด้วย
 
การกินเค็มแต่พอดีจะช่วยขับร้อน แก้อาการเลือดออกตามไรฟัน บำบัดอาการท้องเฟ้อ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ทำความสะอาดแผล ช่วยเรื่องการขัดเบาของร่างกาย
 
แหล่งที่มาของรสเค็ม โดยมากมาจากเกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ซอส และสาหร่ายทะเลบางชนิด
 
โรคที่ตามมากับการกินเค็ม
 
ร้อนใน กระหายน้ำ การกินเค็มจัดจะทำให้ระบบการดูดซึมอาหารในร่างกายทำงานหนัก ร่างกายที่ได้รับโซเดียมสูงกว่าปกติต้องพยายามขับเกลือทิ้งออกทางเหงื่อ ปัสสาวะ จึงทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ร้อนใน รู้สึกแสบคอ ยิ่งกินเค็มมากๆ อาจทำให้อาเจียน ท้องเดิน หรือเกิดอาการบวมน้ำได้
ภาวะขาดน้ำ สำหรับเด็กและทารกซึ่งไตยังไม่สามารถขับถ่ายโซเดียใส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าผู้ใหญ่ การกินอาหารเค็มมากเกินไปอาจยิ่งเพิ่มภาวะเสี่ยวงต่อการมีโซเดียมสะสมในร่างกายและอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ (dehydeation) อย่างรุนแรงได้
 
ความดันโลหิตสูง แพทย์และนักโภชนาการเชื่อว่ารสเค็ม จะทำให้ร่างกายมีการเก็บกักน้ำเพื่อการสร้างความสมดุล จึงทำให้เลือดในร่างกายไหลเวียนช้า การคั่งของโซเดียมในร่างกายจึงทำให้ความดันโลหิตสูงตามมา นอกจากนั้นการกินอาหารรสเค็มยังทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เช่นเดียวกับไตที่ต้องรีบขับโซเดียมออกทางปัสสาวะอย่างรวดเร็ว คนกินเค็มจึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ภาวะไตวายมากว่าคนกินอาหารรสชาติปกติ

ข้อมูล Good Life Update

 

อาหารรสเปรี้ยว

เผ็ด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กินไม่พอดีมีโทษ GreenShopCafe.com
 อาหารรสเปรี้ยว
 
ความเปรี้ยวมีคุณสมบัติสำคัญในการกระตุ้นตับและถุงน้ำดีให้ปล่อยน้ำย่อย ช่วยในการดูดซึมอาหารของร่างกาย ฟอกเลือด เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับเสมหะ และแก้เลือดออกตามไรฟัน
 
รสเปรี้ยวนอกจากจะได้จากผลไม้บางชนิด เช่น มะนาว มะกรูด มะขาม มะม่วงดิบ สับปะรด ยังได้จากสารสังเคราะห็ที่เรารู้จักกันดี นั่นคือน้ำส้มสายชู ทั้งนี้ความเปรี้ยวที่ได้จากธรรมชาติ เช่นผลไม้ชนิดต่างๆ ไม่ค่อยมีอันตรายต่อร่างกายมากนัก แต่หากบริโภคมากเกินไปก็เป็นอันตรายต่อร่างการเช่นกัน
 
โรคที่มากับอาหารรสเปรี้ยว
 
ท้องร่วง การกินอาหารรสเปรี้ยวมากเกินไปมักทำให้ท้องเสีย ร้อนใน และระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหา จึงทำให้บาดแผลหายช้า
กระดูกผุ ความเปรี้ยวที่ได้จากน้ำส้มสายชู แม้จะช่วยขจัดกลิ่นคาวและลดแบคทีเรียในอาการแต่ถ้ากินมากเกินไปอาจเป้นอันตรายต่อกระดูกได้ ดังนั้นถ้าต้องการได้รสเปรี้ยวจากน้ำส้มสายชูจึงควรใส่แต่น้อย

อาหารรสเผ็ด

เผ็ด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กินไม่พอดีมีโทษ GreenShopCafe.com
 อาหารรสเผ็ด
 
แหล่งที่มาของอาหารรสเผ็ดร้อนมักจะอยู่ในผักและสมุนไพรกลุ่มเครื่องเทศ เช่น กานพลู กระเทียม และที่ขาดไม่ได้คือ พริก
 
ความเผ็ดของรสชาติอาหารช่วยให้การทำงานของปอดและลำไส้ใหญ่เป็นไปตามปกติ ความเผ็ดร้อน ช่วยให้ เรารับประทานอาหรได้มากกว่าปกติ และกระตุ้นการไหลเวียนเลือดในร่างกายไปในตัว
 
นอกจากนั้นอาหารรสเผ็ดยังช่วย ขับเหงื่อ ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้อาการจุก เสียด แน่น เฟ้อ ช่วยขับเสมหะ ทำให้จมูกโล่งเวลาเป็นหวัด ช่วยลดความดันและไขมันในโลหิตได้อีกด้วย การบริโภคอาหารรสเผ็ดมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดโรคร้ายที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน
 
โรคที่แฝงมากับการกินอาการรสเผ็ด
 
  • กรดในกระเพาะอาหาร กินเผ็ดจึงมักมีอาการท้องขึ้นและอึดอัด รู้สึกแสบและคันรูทวารหนัก และมีอาการอ่านเพลียอยู่เสมอ
  • สิว คนที่เป็นสิวหรือมีอาการอักเสบของต่อมไขมันไม่ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดโดยเด็ดขาด เพราะความเผ็ดจะทำให้ต่อมไขมันทั่วร่างกายทไหงานหนักกว่าปกติ จึงทำให้เกิดสิวได้ง่าย
  • อาจทำให้อ้วน อาหารรสเผ็ดทำให้เรามีความอยากกินอาหารมากขึ้น ยิ่งกินเยอะก็จะยิ่งทำให้เป็นโรคอ้วนตามมา
  • โรคไต นอกจากพริกแล้ว อาหารรสเผ็ดจำพวกเครื่งแกงมักมีส่วนผสมของเกลือ กะปิ ผลชูรส ซึ่งมีโซเดียมอยู่ในประมาณมาก การกินอาหารที่มีส่วนผสมของเครื่องแกงจึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต ความดันโลหิตสูงไปด้วย
  • โรคหัวใจ อาหารที่มีรสเผ็ดมีฤทธิ์การกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้หัวใจทำงานหนัก คนชอบกินอาหารรสเผ็ดจึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว

อาหารมัน

เผ็ด เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กินไม่พอดีมีโทษ GreenShopCafe.com
จากการสำรวจ พบว่าคนไทยกินอาหารทอด และผัดร้อยละ 19.6 ทุกวัน ซึ่งคุณทราบหรือไม่ว่า อาหารมันๆที่พวกคุณรับประทานกันในแต่ละวันนั้น ล้วนให้พลังงานสูง และถ้าหากเรารับประทานบ่อยๆเยอะๆแล้ว จะทำให้ไขมันไปสะสมบริเวณพุง เกิดภาวะที่เรียกว่า อ้วนลงพุง ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งและอื่นๆอีกมากมาย ทำให้ต้องมาเสียเวลา เสียเงิน เพื่อบำรุงรักษาตัว เพียงเพราะเราไม่ใส่สุขภาพตนเองตั้งแต่แรก
 
ไขมัน มาจากไหน
- ไขมัน เป็นสารอาหารกลุ่มที่ให้พลังงานสูงที่สุด คือ 9 กิโลแคลอรี ต่อ 1 กรัม ไขมันช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อีและเค ให้ความอบอุ่นและควบคุมอุณภูมิของร่างกาย ช่วยให้ อาหารนุ่มมีกลิ่นรสดี น่ากิน การขาดไขมันหรือได้รับไม่เพียงพอจะทำให้ได้รับวิตามิน มากเกินจะทำให้เกิดโรคอ้วนได้
- ไขมัน ได้จากทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ น้ำมันหมู น้ำมันพืชที่ทำจากถั่วเหลือง ปาล์ม เมล็ดฝ้าย มะพร้าว รำข้าว เป็นต้น รวมทั้งเนย ซึ่งทำมาจากไจมันในนม เนยเทียมหรือมาการีนทำมาจากไขมันพืช อีกส่วนหนึ่งไขมันจะแทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ รวมถึงวิธีการปรุงประกอบด้วยไขมัน น้ำมัน เนยกะทิ เช่น อาหารทอด ผัด ขนมเค้ก คุกกี้ พิซซ่า ไอศกรีม แกงกะทิเป็นต้น
 
จากการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการในประเทศไทยปี 2546-2547 พบว่า "คนไทยกินอาหารทอด และผัดทุกวันร้อยละ 19.6" เพราะไขมันช่วยให้อาหารนุ่ม มีกลิ่นรสดี น่ากิน เช่น ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด ปลาทอด ไข่เจียว ไข่ดาว หรือจำพวกขนมทอดทั้งหลาย
 
ลดมัน ลดโรคอย่างไร
 
แม้ว่าไขมันจะมีความสำคัญต่อร่างกายคนเราแต่หากกิน "อาหารมันจัด" เป็นประจำ จะเกิดไขมันสะสมจนทำให้เป็นโรคอ้วน และเสี่ยงที่จะเป็นภาวะแทรกซ้อน โรคอื่นๆตามมา
องค์การอาหารและเกษตร (FAO) องค์การอนามัยโลก (WHO) และ The American Heart Association แนะนำให้บริโภคไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานที่รับต่อวัน หรือมื้อละประมาณ 3.5-4 ช้อนชา และควรมีสัดส่วนของไขมันพืช: ไขมันสัตว์ เท่ากับ 3:1 หรือ 1:1 เป็นอย่างน้อย
 
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำให้ปรับพฤติกรรมในการกินเพื่อลดอาหารมันจัด โดยให้ทำตามข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยเรียกง่ายๆว่า โภชนาบัญญัติ 9 ข้อ และ กินอาหารตามธงโภชนาการ เลือกกินอาหารที่ประกอบด้วยวิธีการนึ่ง ย่าง ต้ม อบ แทนของทอด และ หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อย สัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที
เอาใจใส่สุขภาพกันสักนิดนะค่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเองค่ะ จำไว้นะค่ะ สุขภาพดีๆนั้นไม่มีขาย อยากได้คุณต้องทำเอง
 

ข้อมูลจาก Today Health
 
 
-----
 
การลดอาหารไขมัน
 
 
การรับประทานไขมันมากโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวจะทำให้ไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบ การเลือกอาหาร การปรุงอาหารจะช่วยให้เราสามารถปริมาณไขมันในอาหาร
 
การรับประทานไขมันมากไปโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว saturated fatจะทำให้ระดับ cholesterolในเลือดสูงซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด บทความนี้จะแนะนำวิธีการลดอาหารมัน
 
ไขมันอิ่มตัวพบในอาหารประเภทไหน
 
• ไขมันอิ่มตัวพบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น หมู เนื้อวัว เครื่องใน ไส้กรอก แฮม แคบหมู เบค่อน คุ๊กกี้ ขนมเค้ก cheese cream กะทิ น้ำมันปาล์ม
 
คนปรกติจะรับอาหารไขมันอิ่มตัวได้แค่ไหน
 
• ผู้ชายไม่ควรจะรับไขมันอิ่มตัวเกิน 30g ต่อวัน
• ผู้หญิงไม่ควรจะรับไขมันอิ่มตัวเกิน 20g ต่อวัน
เมื่อท่านเลือกซื้ออาหารต้องอ่านฉลากว่า มีส่วนประกอบของอาหารอะไรบ้าง หากมีไขมันเกินก็ไม่ต้องซื้อ
 
คำแนะนำเรื่องไขมัน
• รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว saturated fat ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้รับหรือไม่เกินวันละ 300 กรัมของคลอเลสสเตอรอลล์ และหลีกเลี่ยงไขมันชนิด trans fatty acid
• ปริมาณพลังงานที่ได้จากไขมันต้องไม่เกิน 30%ของปริมาณทั้งหมด และควรจะเป็นพวกไขมันไม่อิ่มตัวpolyunsaturated
and monounsaturated fatty acids จากพืชและถั่ว
• เมื่อจะรับประทานเนื้อสัตว์ต้องเลือกเนื้อที่มีไขมันต่ำ เช่นเนื้อสันใน หรือแกะเอาหนังและไขมันทิ้ง
• ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมัน trans fatty
• สำหรับเด็กเล็กอายุ 2-3 ขวบให้รับประทานไขมันได้ถึงร้อยละ 30-35 สำหรับเด็กอายุ 4-18 ปีให้รับประทานอาหารไขมันได้ถึงร้อยละ 25-35 และแหล่งไขมันควรจะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว polyunsaturated and monounsaturated
fatty acids,เช่น ปลา ถั่ว และน้ำมันพืช
 
ในฉลากอาหารจะมีรายละเอียอดของสารอาหาร ให้ตรวจดูว่ามีไขมันอิ่มตัว(‘saturates’ or ‘sat fat)ในฉลากว่ามีปริมาณเท่าไร
 
• มีไขมันอิ่มตัวสูงหมายถึงมีไขมันอิ่มตัวมากกว่า 5 กรัมต่ออาหาร 100 กรัม
• มีไขมันอิ่มตัวน้อยหมายถึงมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 1.5 กรัมต่ออาหาร 100 กรัม
• ไขมันอิ่มตัวระหว่าง 1.5-5 กรัมต่ออาหาร 100 กรับถือว่าอยู่ในช่วงปานกลาง
 
การลดปริมาณไขมันอิ่มตัวในบ้าน
 
• สำรวจน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร ให้เลือกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันมะกอก หลีกเลี่ยงน้ำมันปาล์ม เนย น้ำมันหมู มาการีน
• เนื้อสัตว์ เลือกเนื้อสันในซึ่งมีไขมันไม่มากและเล็มเอาไขมันออก หลีกเลี่ยงหมูสามชั้น ไส้กรอก แฮม เครื่องใน เลือกไก่ไม่ติดหนัง เนื้อปลา ส่วนไข่ก็จำกัดหากมีไขมันในเลือดสูง
• อาหารเช้าที่คนมักจะนิยมรับประทานได้แก่ ขนมปังปิ้งทาเนย ปาท่องโก๋ หมูปิ้ง กล้วยแขก ขนมข้าวเม่า หรือของทอดทั้งหลายต้องหลีกเลี่ยง หากรับประทานโจ๊กต้องระวังหมูสับซึ่งมีไขมันมาก
• ใครที่ชอบรับประทานก๊วยเตี๋ยวให้เลือกเส้นเล็ก หรือเส้นหมี หรือบะหมี่เพราะเส้นใหญ่จะมีไขมัน
• ของขบเคี้ยวให้หลีกเลี่ยงโดยเฉพาะมันฝรั่งทอด pop corn หากจะรับประทานให้อ่านฉลากทุกครั้ง
• หากจะรับประทานสลัดต้องเลือกที่มีไขมันต่ำ หรือทำรับประทานเอง การทำแซนวิตย์ต้องเลือกครีมที่มีไขมันต่ำ
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น Pizza ไก่ทอด โดนัท ขนมปัง ลาซันญ่า
• หากซื้ออาหารสำเร็จรูป ให้เปรียบเทียบสารอาหารว่ามีปริมาณไขมันสูงหรือไม่ เลือดที่มีไขมันต่ำที่สุด
• นมหรือโยเกิตร์ให้เลือกชนิดไขมันต่ำ
• ดื่มกาแฟก็ไม่ควรใส่ครีม coffemate
• ไก่และเป็ดต้องลอกหนังออกก่อนทุกครั้ง หลีกเลี่ยงขาหมู
• ไส้กรอกต้องเลือกไส้กรอกที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำที่สุด และใช่วิธีอบ หรือย่าง
• หลีกเลี่ยง Baconใช้วิธีย่างหรืออบแทนการทอด
• ไข่สำหรับคนที่ไขมันในเลือดสูงก็จำกัดปริมาณที่รับประทาน หลีกเลี่ยงการทอดใช้ต้มหรือเผา.
• จะพบว่าทั้ง butter cheese magarine ล้วนให้ผลเสียต่อสุขภาพ เราควรจะหลีกเลี่ยงหากจำเป็นต้องใช้ก็ใช้น้ำมันพืชเช่นน้ำมันมะกอก ถั่วเหลือง ข้าวโพด หรือ magarine ชนิดเหลว
ให้ดึงหนังออกจากอาหารที่เราจะปรุง เช่นหนังไก่ หนังหมู
• หลีกเลี่ยงอาหารทอด ใช้ปิ้ง ย่างหรือนึ่งแทน
• ดื่มนมพร่องมันเนยแทนนมสด
• ไม่ควรทาเนยหรือ Magarine บนขนมปัง
• ไม่ควรผสมเนยและน้ำตาลด้วยกันเพราะน้ำตาลจะทำให้ร่างกายเราหลั่งอินซูลิน อินซูลินจะทำให้เซลล์ของเราเก็บไขมันมากขึ้น
• ก่อนปรุงอาหารให้เลาะเอาไขมันออกให้หมด
• ให้ yoghurt แทนครีม
• ให้ลอกหนังไก่หรือหนังหมูก่อนการหมักเพื่อให้เนื้อมีรสอร่อย
• ถ้าเป็นไปได้ควรจะงดพวก butter cheese โดยใช้น้ำมันพืชแทน
 
สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานอาหารนอกบ้าน
 
• กาแฟสดที่ซื้อรับประทานจะใส่ไขมันและครีมค่อนข้างมากให้หลีกเลี่ยง ให้ดื่มาแฟดำแทน
• ไม่สั่งอาหารจำพวกแกงซึ่งใส่กระทิ
• อาหารจานด่วนนอกบ้านมักจะมีปริมาณไขมันค่อนข้างสูงให้หลีกเลี่ยง
• อาหารทอดนอกบ้านมักจะใช้น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันที่มี Trans fat ค่อนข้างสูง
• อาหารว่างให้ใช้ผลไม้แทนขนมขบเคี้ยว เค็ก หรือคุ๊กกี้
• ไขมันที่ใช้ตามบ้านไม่ควรใช้ไขมันชนิดไหน
 
ที่ต้องหลีกเลี่ยงได้แก่ น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม เนย มาการีนแข็ง( hard margarine) เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวมาก และมีแคลอรี่ี่สูง นอกจากนั้นยังมี trans fat.ซึ่งจะทำให้ LDL cholesterol ในเลือดสูงและทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง
 
ควรจะใช้ไขมันอะไรในการปรุงอาหาร
 
แนะนำให้ใช้น้ำมันมะกอก olive, canola, น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวต่ำ,
 
ควรจะใช้เนยหรือมาการีน
ไม่ควรใช้ทั้งสองชนิดเนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวและ Trans fat สูง
 
ข้อมูลจาก SiamHealth.com 

 

ข้อมูลบริการ

GreenShopCafe.com ร้านสินค้าสุขภาพออนไลน์ ภายใต้แนวคิด "สินค้าสุขภาพ ออร์แกนิค ธรรมชาติ ปลอดเคมีอันตราย นวัตกรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"

จากแบรนด์ดีๆ มากมายหลายหลาก เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่ใส่ใจและเลือกสรรแต่สิ่งดีมีคุณภาพสำหรับตัวเองและครอบครัว

จ่ายผ่านบัตรบนระบบของ KTC ปลอดภัย 100%

GreenShopCafe ใช้ระบบตัดบัตรเครดิต KTC PayGate ของ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยระดับสากล การระบุข้อมูลบัตรที่จะกระทำบนระบบเซอร์เวอร์ของ KTC PayGate จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยสูงสุด และ GreenShopCafe ไม่เก็บเลขบัตรและข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้าทั้งสิ้น

Credit Card Accept & Payment Gateway support by KTC PCL
© กรีนช็อปคาเฟ่ GreenShopCafe.com สงวนลิขสิทธิ์