Home : Green Story : Health

SLS vs SLES คืออะไร และความสำคัญต่อความปลอดภัยในเครื่องสำอาง

SLS และ SLES เป็นสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาลม์ (Palm Kernel Oil) หรือแอลกอฮอล์ (จากการกลั่นน้ำมันปิโตเลี่ยม) และผ่านกระบวนแยกและเติมสารต่างๆ ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่คล้ายกันคือ ทำให้เกิดฟอง ขจัดน้ำมันออกจากผิวหนัง เส้นผม หรือฟัน เราจะพบสารเคมีเหล่านี้ ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างรถ รวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทั่วไป เช่น แชมพูสระผม สบู่อาบน้ำ น้ำยาซักผ้า



Sodium Lauryl Sulfate - SLS

ฟังก์ชันการทำงานหลักของสารนี้คือทำงานเป็นสารลดแรงตึงผิว (โดยทั่วไปเรามักพบสารลดแรงตึงผิวในผลิตภัณฑ์ซักล้าง เพราะจะทำให้น้ำมีความตึงผิวลดลง จึงสามารถแทรกซึมเข้าไปยังเนื้อผ้าหรือวัสดุที่ต้องการล้างได้ดีขึ้น) แต่สำหรับเครื่องสำอาง นิยมนำมาใช้เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้น (เพราะทำให้น้ำมีแรงตึงผิวลดลงจึงเข้าไปสัมผัสกับผิวหนังได้ดีขึ้น), ใช้เป็น Emulsifier (สารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ดี), หรือใช้เป็น ตัวทำละลาย

SLS เป็นสารทำความสะอาดที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้มากที่สุดตัวหนึ่ง ซึ่งมักพบได้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายชนิด ในความเป็นจริงแล้ว สารตัวนี้ถูกจัดให้เป็นสารมาตรฐานในการทดสอบระดับการระคายเคืองของผิวหนัง โดยในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ถ้าต้องการทราบว่าสารเคมีชนิดใด ก่อให้เกิความระคายเคืองต่อผิวหนัง ผู้ทดลองจะเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นโดยใช้สารนั้น เทียบกับการใช้สาร SLS (ในการทดสอบบนผิวหนังชนิดเดียวกัน) สาร SLS ปริมาณ 2% - 5% สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในคนกลุ่มใหญ่

Sodium Laureth Sulfate (Sodium Lauryl Ether Sulfate) - SLES


SLES เป็นสารสกัดจากมะพร้าว ถูกใช้เป็นสารทำความสะอาด ซักล้างเป็นหลัก สารนี้ ได้รับการพิจารณาว่ามีความอ่อนโยนและมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ล้างหน้า อาบน้ำ หรือแชมพูสระผม) แม้ว่าชื่อจะคล้ายกัน แต่ SLS ต่างกับ SLES โดยสิ้นเชิง สาร SLES เป็นสารทำความสะอาดที่อ่อนโยนกว่าเนื่องจากเป็นสารประกอบที่เกิดจาก Fatty Alcohol หลายๆ ชนิด ความปลอดภัยของสาร SLES นี้ได้ถูกรีวิวโดยหลากหลายผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้





SLS และ SLES เป็นสารเคมีที่สกัดจากน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาลม์ (Palm Kernel Oil) หรือแอลกอฮอล์ (จากการกลั่นน้ำมันปิโตเลี่ยม) และผ่านกระบวนแยกและเติมสารต่างๆ ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้มีคุณสมบัติที่คล้ายกันคือ ทำให้เกิดฟอง ขจัดน้ำมันออกจากผิวหนัง เส้นผม หรือฟัน เราจะพบสารเคมีเหล่านี้ ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น น้ำยาล้างรถ รวมไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทั่วไป เช่น แชมพูสระผม สบู่อาบน้ำ น้ำยาซักผ้า

ข้อแตกต่างระหว่างสาร SLS และ SLES คือ รายงานจาก Journal of The American College of Toxicology พบว่า สาร SLS แม้ใช้ในปริมาณความเข้มข้นต่ำก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารนี้ในผลิตภัณฑ์ และระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์สัมผัสร่างกาย ซึ่งมักจะทำให้เกิดความระคายเคืองมาก โดยเฉพาะเมื่อเข้าตา หรือเมื่อใช้กับผิวหนังที่บอบบางจะเกิดการระคายเคืองเป็นผื่นแดง หรือลุกลามรุนแรงได้

ในขณะที่ สาร SLES พบว่าทำให้เกิดอาการระคายเคืองน้อยกว่ามาก เพราะมีกระบวนการผลิตที่ดีและซับซ้อนกว่ามาก สารชนิดนี้จึงนิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมากกว่า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก

ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่าสารทั้งสองชนิดนี้ก่อมะเร็งได้ แต่ก็ยังไม่มีรายงายวิจัยชิ้นใดระบุว่าสามารถก่อมะเร็งในผู้ใช้ นอกเสียจากว่าสารทั้งสองชนิดนี้จะได้รับการปนเปื้อนมากัน 1.4 Dioxane ที่เป็นสารก่อมะเร็งในขั้นตอนการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ปัจจุบันกระบวนการผลิตสารทำความสะอาดสามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนนี้ได้ด้วยการใช้ระบบสูญญากาศ จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีสารก่อมะเร็งอย่างแน่นอน

เมื่อติดตามข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สารในผลิตภัณฑ์เด็ก ยังพบสาร Triclosan, สาร Polyethylene, สาร Synthetic Polymers, สาร Paraben นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้ใช้สารเหล่านี้เป็นวัตถุกันเสียที่ความเข้มข้นไม่เกิน 0.3% ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล จึงขอให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจในการใช้ผลิตภัณฑ์เด็ก อย่าได้ตื่นตระหนกกลัวตามที่เป็นข่าว

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังห่วงว่าแล้วจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวลูกอย่างไรดีให้ปลอดภัย
เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

1. หากไม่อยากให้ลูกได้รับสารทั้ง 2 ชนิดนนี้เลยควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า “Sodium Lauryl Sulfate Free”
2. ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กส่วนใหญ่ยังมีส่วนผสมเคมีทั้ง 2 ชนิดนี้อยู่ หากคุณพ่อคุณแม่ต้องซื้อมาใช้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของ SLES จะดีที่สุด
3. ไม่ควรอาบน้ำหรือสระผมให้ลูกนานๆ เพื่อให้ผิวของลูกสัมผัสกับสารเคมีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และใช้น้ำสะอาดล้างทำความสะอาดฟองและความลื่นออกจากผิวให้หมด เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างที่ผิว
4. ควรใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ซับน้ำออกจากตัวลูกเบาๆ แทนการเช็ดถูแบบรูดผิว จะช่วยให้ผิวไม่ถลอกหรือระคายเคือง


Source

 

 

///////////////////////////

คำชี้แจงจากอย.

ความปลอดภัยของสาร SLS ( Sodium Lauryl Sulfate) ในเครื่องสำอาง


ขณะนี้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสาร SLS ( Sodium Lauryl Sulfate) ว่าเป็น สารก่อมะเร็ง ในต่างประเทศได้ยกเลิกการใช้ไปแล้ว แต่ในประเทศไทยยังมีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง โดยเฉพาะสบู่เหลว ซึ่งใช้กันทุกเพศทุกวัย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้สืบค้นและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย ของสารที่ใช้ในเครื่องสำอางมาโดยตลอด กรณีความปลอดภัยของสาร SLS ( Sodium Lauryl Sulfate) ในเครื่องสำอาง สรุปได้ ดังนี้

 
1. โซเดียม ลอริล ซัลเฟต 
หรือที่นิยมเรียกในชื่อย่อว่า เอสแอลเอส (Sodium Lauryl Sulfate :SLS) เป็นสารที่มีคุณสมบัติลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้เกิดฟอง ช่วยให้สิ่งสกปรก คราบไขมันหลุดออกไปได้ง่ายขึ้น จึงเรียกง่ายๆ ว่าเป็น สารทำความสะอาด นิยมใช้ทั้งในวงการอุตสาหกรรมและเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น เครื่องสำอาง น้ำยาล้างจาน (โดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพแตกต่างกัน ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้) เครื่องสำอางที่นิยมผสมสารนี้ ได้แก่ เครื่องสำอางที่ใช้แล้วล้างออกด้วยน้ำ เช่น สบู่เหลว แชมพู ตลอดจนยาสีฟัน
 
2. จากการศึกษาวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและในคน 
พบว่า อันตรายของสารนี้ คือ ระคายเคืองต่อดวงตา และผิวหนัง โดยความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารนี้ในผลิตภัณฑ์ และระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์สัมผัสร่างกาย ซึ่งขณะ นี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจนสรุปว่าสาร SLS มีความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดมะเร็งในคน
 
3. ข้อมูลความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดมะเร็งจากสารกลุ่มนี้ 
อาจมาจากสิ่งปนเปื้อนที่เป็นสารก่อมะเร็ง คือ 1,4 Dioxane แต่ ปัจจุบันในกระบวนการผลิตสารทำความสะอาด สามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อนนี้ได้ด้วยการใช้ระบบสูญญากาศ (ซึ่งไม่เป็นภาระเรื่องค่าใช้จ่ายมากนัก) อีกทั้งได้มีการศึกษาพบว่า โอกาสที่จะพบ 1,4 Dioxane ในเครื่องสำอางสำเร็จรูปมีน้อย จึงไม่ควรกังวลว่าสาร SLS ในเครื่องสำอางจะ ก่อให้เกิดมะเร็ง
 
 

 

4. เครื่องสำอางที่ผสมสาร SLS 
อาจก่อให้เกิด อันตรายต่อผู้บริโภคได้บ้าง เช่น แชมพูเข้าตาทำให้แสบตา หรือฟอกสบู่เหลวนานเกินไป อาจระคายเคืองผิว ทำให้ผิวแห้งได้
 
5. ขณะนี้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทย 
มิได้ห้ามใช้สารนี้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง และได้เผยแพร่ข้อมูลให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารนี้
 
6. หากผู้บริโภคต้องการหลีกเลี่ยงสาร SLS ในเครื่องสำอาง
สามารถเลือกใช้เครื่องสำอางที่ฉลากระบุว่า “Sodium Lauryl Sulfate Free” ได้
 
7. ขณะนี้มีสารทำความสะอาดอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กัน คือ Sodium Laureth sulfate (SLES) 
ซึ่งเป็น สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่า SLS และยังไม่มี ข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการเป็นสารก่อมะเร็ง
 
8. ผู้บริโภคไม่ควรตื่นตระหนกกับเรื่อง นี้จนเกินไป 
หากพบข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสาร หรือผลิตภัณฑ์ใดๆ โดยเฉพาะข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงบวก หรือเชิงลบ จำเป็นต้องตรวจสอบแหล่งที่มา ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆแหล่ง ตลอดจนข้อเท็จจริงต่างๆ ให้กระจ่างชัด ก่อนที่จะดำเนินการใดๆ

 

อ้างอิง: http://www.paulaschoice.com/cosmetic-ingredient-dictionary/definition/thickeners-emulsifiers/sodium-lauryl-sulfate
http://www.paulaschoice.com/cosmetic-ingredient-dictionary/definition/surfactants-detergent-cleansing-agents/sodium-laureth-sulfate
http://pantip.com/topic/30277443




ผลิตภัณฑ์ซักล้าง
ผู้เขียน: อาจารย์โชติมา วิไลวัลย์
วันที่: 12 ก.ค. 2549
 
          ผลิตภัณฑ์ซักล้างโดยทั่วไปมีองค์ประกอบสำคัญเหมือน ๆ กันคือ ต้องมีสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ซึ่งทำหน้าที่จับตัวกับสิ่งสกปรก ลักษณะของโมเลกุลของสารประเภทนี้ ปลายหนึ่งจะจับกับโมเลกุลของน้ำได้ดี อีกปลายหนึ่งจะจับกับโมเลกุลของคราบไขมัน ทำให้คราบไขมันหลุดออก สารลดแรงตึงผิวที่ใช้กันอยู่หลายตัว
 
           ผลิตภัณฑ์ล้างจานหรือที่เราเรียกกันคุ้นปากว่าน้ำยาล้างจานมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2-3 ชนิด นอกจากน้ำแล้วยังมีสารเคมีประเภทสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่ทำหน้าที่ออกฤทธิ์ทำให้ผสมกลมกลืนกับน้ำ ทำให้เกิดฟอง ทำให้เกิดความหนืด และทำให้สามารถจับตัวกับสิ่งสกปรกแล้วแยกออกจากส่วนที่เป็นน้ำ สารลดแรงตึงผิวที่ใช้กันมากมี 2 ชนิดคือ linear alkyl benzene sulfonate (LAS) และ  sodium lauryl ether sulfate (SLES) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสารชำระล้างที่มีประจุลบ (anionic surfactant) ผลิตภัณฑ์ล้างจานบางยี่ห้อใช้ sodium dodecyl benzene sulfonate แทน LAS ด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำสารชำระล้างชนิดอื่นซึ่งมีประสิทธิภาพสูงแต่มักมีราคาแพงกว่ามาใช้ร่วมกับสารเคมีหลักเหล่านี้ในปริมาณเล็กน้อย เช่น cocamidopropyl betaine, alkyl glucoside และ alkyl polyglucoside 
 
            linear alkyl benzene sulfonate (LAS) เป็นสารลดแรงตึงผิวที่นิยมใช้ในผงซักฟอกด้วย เนื่องจากมีการใช้สารชนิดนี้มานานกว่า 30 ปีแล้ว และมีการทดลองแล้วว่ามีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดสูง และราคาไม่แพงมาก ปัจจุบัน LAS เป็นที่นิยมใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผงซักฟอกทั่วโลก เมื่อหลายปีก่อน linear alkyl benzene sulfonate ยังไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก สารเคมีที่ใช้มากคือ alkyl benzene sulfonate (ABS) แต่มันเป็นสารที่ไม่ย่อยสลายในสภาพแวดล้อม จึงไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน 
 
         sodium lauryl ether sulfate (SLES) หรือ sodium laureth sulfate  มีค่า LD50 (หนู) 1,600 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีพิษปานกลาง เป็นสารทำให้เกิดฟอง มักใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และแชมพู อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตาและผิวหนัง หากเกิดอาการหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ควรหยุดใช้ทันที ในกระบวนการผลิต SLES อาจปนเปื้อนด้วย 1,4-dioxane ซึ่งอาจเป็นสารก่อมะเร็ง ในต่างประเทศมีการห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและยา แต่อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าสารชนิดนี้เป็นก่อมะเร็ง 
 
            sodium dodecyl benzene sulfonate มีค่า LD50 (หนู) 1,260 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีพิษปานกลาง เป็นของแข็งคล้ายทรายมีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนๆ เป็นอันตรายถ้ากินหรือหายใจเข้าไปในปริมาณมาก ระคายเคืองต่อจมูก คอ และปอด ทำให้ไอ หายใจมีเสียงดัง และหายใจถี่ ก่อให้เกิดการระคายเคืองเล็กน้อยต่อผิวหนัง 
 
          cocamidopropyl betaine เป็นสารลดแรงตึงผิวที่จับกับทั้ง anion และ cation ในเวลาเดียวกัน สาร cocamidopropyl betaine เป็นสารลดแรงตึงผิวแบบอ่อนที่ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อในจมูก จึงเชื่อกันว่าจะช่วยลดการระคายเคืองที่เกิดจากการใช้ anionic surfactant เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้มันยังมีสมบัติฆ่าเชื้อโรคและเข้าได้กับสารลดแรงตึงผิวชนิดอื่นๆ cocamidopropyl betaine ในผลิตภัณฑ์ล้างจานที่ความเข้มข้นต่ำกว่า 1 % จะไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง อย่างไรก็ตามสำหรับที่ความเข้มข้นสูงขึ้นไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ควรหลีกเลี่ยงการเทผลิตภัณฑ์ใส่มือโดยตรง โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ล้างจานที่ใช้กันอยู่มีปริมาณของ cocamidopropyl betaine เพียง 0.1 - 0.5 % เท่านั้น
 
            alkyl glucoside และ alkyl polyglucoside เป็นสารลดแรงตึงผิวชนิดปราศจากประจุ (nonionic surfactant)  ส่วนที่ใช้จับกับน้ำ (hydrophilic group) จะเป็นน้ำตาลซึ่งมีสมบัติในการละลายน้ำได้ง่าย สำหรับ ส่วนที่เป็น hydrophilic group คือน้ำตาล พบสารลดแรงตึงผิวนี้ใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับทารกเช่น ผลิตภัณฑ์ล้างขวดนม หรือจาน ชามสำหรับเด็ก เพราะมีความอ่อนโยนต่อผิวหนังถึงแม้จะใช้ในปริมาณมากหรือใช้เป็นประจำ 
 Surfactant (สารลดแรงตึงผิว)

Surfactant  คืออะไร
     Surfactant  หรือ สารลดแรงตึงผิว คือ สารที่มีลักษณะโมเลกุลประกอบด้วย   2 ส่วน 
คือส่วนหัวที่สามารถรวมกับน้ำได้ดีและส่วนหางที่ไม่รวมกับน้ำแต่สามารถละลายกับน้ำมันได้ดี
 
 
Surfactant  หรือ สารลดแรงตึงผิวเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวโดยส่วนหัวซึ่งเข้ากับน้ำได้ดีจะแสดง ประจุและบ่งบอกคุณสมบัติ ของสารนั้นๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4  ชนิดดังนี้
   
            I . Anionic Surfactant ( แอนไอออนนิค  เซอร์แฟกแท้นท์)
      สาร นี้เมื่อละลายน้ำแล้วจะแตกตัวและส่วนหัวจะมีประจุเป็นลบสารจำพวกนี้ถูกนำมา ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆเช่น น้ำยาล้างจาน  ผงซักฟอก  ตลอดจนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น แชมพู ครีมอาบน้ำและอื่นๆทั้งนี้เพราะมีคุณสมบัติ ในการทำความสะอาดดีมีฟองมาก  และละลายน้ำได้ดี
   
 
ขั้นตอนในการทำความสะอาด คือ
ส่วน หางที่เข้ากับน้ำมันได้ดี จะช่วยกันจับคราบน้ำมันหรือสิ่งสกปรกซึ่งเกาะติดกับพื้นผิหรือเส้นผมไว้ ในขณะที่ส่วนหัวจะรวมตัวกับน้ำและดึงสิ่งสกปรกให้หลุดออกน้ำและแขวนลอยอยู่ ในน้ำและไม่กลับเข้า ไปติดพื้นผิวนั้นๆอีก สารที่สำคัญและใช้แพร่หลายในกลุ่มนี้
 
 
1. สบู่
 
เกิดจากปฏิกิริยาของ ด่างและน้ำมันต่างๆ  มีคุณสมบัติในการกำจัดไข และไขมันได้ดี นิยมใช้ทำความสะอาดผิวหนังโดยอาจทำเป็นสบู่ก้อนหรือสบู่เหลวไม่นิยมใช้ทำแช มพเูพราะละลายน้ำ ยาก  ไม่ทนต่อน้ำกระด้าง มี pH สูง ทำให้ไม่สามารถเข้ากับสารเคมีตัวอื่นๆในสูตร
 
 
2. Sodium Lauryl Ether Sulphate , Ammonium Lauryl Ether Sulphate
เกิด จากการนำน้ำมันมะพร้าว หรือ น้ำมันปาลม์ ( Palm Kernel Oil ) หรือแอลกอฮอล์ (จากการกลั่นน้ำมันปิโตเลี่ยม) มาแยกส่วนแล้วผ่านขบวนการ Ethoxylation และ  Sulfatiom   แล้วจึงทำให้เป็นกลางด้วยด่าง เช่น โซดาไฟ หรือ แอมโมเนียม  ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้คือ Texpon N 70 ( SLES -2EO )     สารกลุ่มนี้นิยมนำไปใช้เป็นสารทำความสะอาดในแชมพู  ครีมอาบน้ำ  เนื่องจากละลายน้ำได้ดี  ทนต่อน้ำกระด้างได้ดี และไม่ค่อยระคายเคืองต่อผิวหนัง
 
 
3. Sodium  Lauryl Sulphate,  Ammomiun  Lauryl Sulphate
ขบวน การผลิตคล้ายคลึง กับ Sodium / Ammonium Lauryl Ether Sulphate โดยไม่ผ่านขบวนการ  Ethoxylation  ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ คือ Texapon ALS (ALS) หรือ AD-25 หรือ CO-103 L (SLS)   ซึ่งเป็นของเหลว  นอกจากนี้ ยังมีผู้ผลิต  SLS ที่มีความเข้มข้นสูงออกจำหน่ายโดยมีลักษณะเป็นผง หรือ เป็นเส้น ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่าผงฟอง หรือ ฟองเส้น สารกลุ่มนี้นิยมนำไปใช้เป็นสารทำความสะอาดในแชมพู  ครีมอาบน้ำหรือผลิตภัณฑ์ทำ    
ความสะอาด  เนื่องจากมีฤทธิ์ในการทำความสะอาด และ ฟองมากกว่า Sodium /    
Ammonium Lauryl Ether Sulphate เมื่อช้ในปริมาณเท่ากัน  ข้อเสียคือ ละลายน้ำได้น้อยกว่า ทนต่อน้ำกระด้างได้น้อยกว่าและระคายเคืองต่อผิวหนังมากกว่า
 
 
4. Linear Alkyl Benzene  Sulphonate ( LAS)
เกิด จากการนำ Benzene ทำปฏิกิริยากับ n-parafin ซึ่งได้จากขบวนการกลั่นน้ำมันปิโตเลียม แล้วผ่านการ  Sulfonation  ตัวอย่างในสารกลุ่มนี้ คือ  LAS มีความเข้มข้นสูง ประมาณ 96-98% และเป็นกรด  ซึ่งจะต้องทำให้เป็นกลาง โดยผสมกับด่างก่อนจึงจะใช้ได้  ซึ่งอาจจะยุ่งยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์  ดังนั้นผู้ผลิตหลายรายจึงได้ผลิตแบบที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้ว และสามารถนำไปผสมในสูตรได้เลย สารกลุ่มนี้นิยมนำไปใช้เป็นสารทำความสะอาดหลัก ในผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เพราะมีประสิทธิภาพ ในการทำความสะอาดสูงกว่ากลุ่มอื่นๆที่กล่าวมา อีกทั้งราคาถูก  ข้อเสียคือไม่ทนต่อน้ำกระด้าง ระคายเคืองต่อผิวหนังมากถ้าใช้เดี่ยวๆ และปรับให้ ข้นยากกว่า SLES และ  SLS  
 
 
5. Alpha Olefin Sulfonate (AOS)
เป็น สารที่เกิดจาก การนำสารที่ได้จาก การกลั่นน้ำมันปิโตเลี่ยม มาทำปฏิกิริยา Sulfonation  เช่นเดียวกับ ขบวนการผลิต LAS AOS นี้มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดเทียบเท่า LAS  แต่ทนน้ำกระด้างได้ดีกว่ามาก และอ่อนละมุนต่อผิวมากกว่า   นิยมใช้แพร่หลายในอเมริกาและญี่ปุ่น
เนื่องจากไม่มีผู้นิยมใช้ในเมืองไทย จึงไม่มีผู้ผลิตในเมืองไทย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ต้น ทุนสูงมากเมื่อเทียบกับ LAS
 
 
               เมื่อ ไม่นานมานี้มีข่าวลือทางอินเตอร์เน็ทว่า การใช้สารจำพวก SLES , SLS จะมีอันตราย ทำให้เกิดมะเร็งหรืออันตรายอื่นๆนั้น ทางสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอาง ( CTFA ) ได้ออกมาชี้แจงว่า ข่าวดังกล่าวไม่มีมูลความจริงแต่อย่างไร  SLES และ SLS  สามารถใช้ ในการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้ ทั้งนี้ปริมาณที่ใช้ต้องไม่สูงจนเกินไป จนเกิดการระคายเคือง ต่อผิวหนังได้
 
   
            II   Cationic Surfactant ( แคทไอออนนิค  เซอร์แฟกแท้นท์)
      สาร ในกลุ่มนี้เมื่อละลายน้ำแล้วส่วนหัวจะมีประจุบวก   นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยใช้เคลือบผ้า เพื่อให้ความลื่น และป้องกันไฟฟ้าสถิต สารจำพวกนี้ไม่มีความสามารถในการทำความสะอาด และไม่มีฟอง แต่สามารถเกาะเส้นผม และพื้นผิวได้ดี ให้ความลื่นจึงนิยมนำมาใช้ในครีมนวดผม หรือปรับผ้านุ่ม  สารตัวอย่างในกลุ่มนี้ที่ใช้ในครีมนวดผม ได้แก่   Dyhyquat AC , Rinse compound 
   
            III  Nonionic Surfactant ( นอนไอออนนิค  เซอร์แฟกแท้นท์)
      สาร ชนิดนี้เมื่อละลายน้ำแล้วจะไม่แตกตัวจึงไม่มีประจุ  คุณสมบัติของสารกลุ่มนี้จะแตกต่างกันไป ตั้งแต่ละลายน้ำได้ จนไม่ละลายน้ำ  สารที่ไม่ละลายน้ำมักใช้เป็นตัวดับฟอง และ emulsifier ส่วนสารที่ละลายน้ำมักใช้เป็นสารทำความสะอาด   แต่เนื่องจากมีฟองน้อยจึงมักใช้คู่กับ LAS   หรือ Anionic Surfactant   อื่นๆ   ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารนี้ ได้ แก่  ผงซักฟอก  สารขจัดคราบฝังแน่น  ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่   Nonylphenol  -9 ( NP -9 ) .
   
             IV Amphoteric Surfactant ( แอมโฟเทอริค  เซอร์แฟกแท้นท์)
         สารกลุ่มนี้มีทั้งประจุบวกและลบอยู่ในโมเลกุลเดียวกัน เมื่อละลายน้ำจะแสดงประจุใดขึ้นอยู่กับสภาพ แวดล้อม โดยถ้าสภาพแวดล้อมเป็นกรดก็จะแสดงประจุบวก ถ้าสภาพแวดล้อมเป็นด่างก็จะแสดงประจุลบ   คุณสมบัติหลักของสารกลุ่มนี้คือ สามารถทนน้ำกระด้าง  อ่อนละมุนต่อผิว  สามารถเข้ากับ  SLES  , SLS ได้ดี เมื่อใช้ร่วมกันจะทำให้สามารถทำให้ข้นได้ง่ายขึ้น  มีคุณสมบัติการเกิดป้องกันไฟฟ้าสถิต และให้ความนุ่มได้   ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่  สารกลุ่ม Betaine  เช่น  Mirataine BET C 30 , Dehyton K   นิยมใช้ร่วมกับ SLES -2EO ในผลิตภัณฑ์แชมพู
  นอกจา ก นี้ยังมีกลุ่ม  amphoacetate   เช่น  Miranol LC 32  สารกลุ่มนี้ใช้ได้ดีกับผลิตภัณฑ์จำพวกสบู่ ครีมอาบน้ำ โดยช่วยให้ฟองสบู่ที่ได้นุ่ม และละเอียดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังให้ความอ่อนนุ่มแก่ผิว โดยช่วยให้ผิวไม่แห้งตึงหลังอาบน้ำหรือล้างหน้า

Source 

 

Latest stories

ข้อมูลบริการ

GreenShopCafe.com ร้านสินค้าสุขภาพออนไลน์ ภายใต้แนวคิด "สินค้าสุขภาพ ออร์แกนิค ธรรมชาติ ปลอดเคมีอันตราย นวัตกรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"

จากแบรนด์ดีๆ มากมายหลายหลาก เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่ใส่ใจและเลือกสรรแต่สิ่งดีมีคุณภาพสำหรับตัวเองและครอบครัว

จ่ายผ่านบัตรบนระบบของ KTC ปลอดภัย 100%

GreenShopCafe ใช้ระบบตัดบัตรเครดิต KTC PayGate ของ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยระดับสากล การระบุข้อมูลบัตรที่จะกระทำบนระบบเซอร์เวอร์ของ KTC PayGate จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยสูงสุด และ GreenShopCafe ไม่เก็บเลขบัตรและข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้าทั้งสิ้น

Credit Card Accept & Payment Gateway support by KTC PCL
© กรีนช็อปคาเฟ่ GreenShopCafe.com สงวนลิขสิทธิ์